Room Red Fight
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความเสี่ยงทางการเมือง : เรารู้กันจริงแค่ไหน

Go down

ความเสี่ยงทางการเมือง : เรารู้กันจริงแค่ไหน Empty ความเสี่ยงทางการเมือง : เรารู้กันจริงแค่ไหน

ตั้งหัวข้อ  Admin Sat Feb 27, 2010 4:29 am

ดร.เฉลิมพล ไวทยางกูร cwait@truemail.co.th กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลายเดือนที่ผ่านมา เรื่องหรือประเด็นที่พูดกันมากที่สุด เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ คือ เรื่องความเสี่ยงทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตัดสินคดีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ หรือกรณีมาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่ง ให้หลายบริษัทหยุดก่อสร้างโครงการต่างๆ ที่มีผลกระทบเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่แหลมฉบัง ทั้งหลายทั้งปวงต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่า เป็นเรื่องของความเสี่ยงที่มีผลกระทบ ต่อการฟื้นฟูจากวิกฤติเศรษฐกิจทั้งสิ้น และดูเหมือนจะไม่มีใครอธิบายให้ชัดๆ ว่า ความเสี่ยงทางการเมืองนั้นเป็นอย่างไรกันแน่

ภาพที่ทุกคนคิดเอง ก็คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่ม หรือระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มชาวบ้านกับภาครัฐหรือกลุ่มธุรกิจ ที่น่าจะทำให้การดำเนินธุรกิจติดขัด และการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของรัฐบาลมีปัญหา และก็กลายเป็นบทสรุปของคำว่า ความเสี่ยงทางการเมืองของบ้านเราไปแล้ว จึงมีคำถามว่าจริงๆ นะหรือ เหตุการณ์เช่นว่าคือความเสี่ยงทางการเมือง ที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจของบ้านเราอย่างแน่นอน จึงอยากเสนอให้พิจารณาดังนี้

ประการที่หนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว ความเสี่ยงทางการเมืองหมายถึงความเป็นไปได้ที่พลังทางการเมือง (Political Forces) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่คาดฝันในประเทศหนึ่งประเทศใด และมีผลกระทบกับโอกาสทางธุรกิจและการปฏิบัติการขององค์กรธุรกิจในประเทศนั้นอย่างมากและเฉียบพลัน ฉะนั้น ถ้าเราจะต้องทำคำจำกัดความของคำว่าความเสี่ยงทางการเมืองแล้วละก็ เราก็ต้องมุ่งที่พลังทางการเมือง ในฐานะตัวแปรหลักที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงทางการเมืองในสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นเป็นหลัก พลังทางการเมือง เป็นเรื่องของความแตกต่างของกลุ่มพลังทั้งหลายในระบบการเมือง เป็นเรื่องของกลุ่มการเมืองที่มีพลังอย่างโดดเด่นในสังคม มีอิทธิพลต่อสังคม และมีอำนาจเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลในขณะนั้นเท่านั้น และ จะไม่ถือว่ามีความเสี่ยงทางการเมืองเลย ถ้ารูปแบบการตัดสินใจของรัฐบาลในอนาคตยังสามารถทำได้อย่างแน่นอน มั่นคง และเสมอต้นเสมอปลายอย่างสม่ำเสมอ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ยิ่งรัฐบาลมีความไม่แน่นอนในการตัดสินใจในนโยบาย ก็ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกเสี่ยงทางการเมืองกับคนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของรัฐบาลนั้น

ประการที่สอง ขออย่าได้ตัดสินเอาโดยพลันว่า ความเสี่ยงทางการเมือง จะต้องทำให้เกิดผลร้ายต่อธุรกิจเสมอไป บางครั้งความเสี่ยงทางการเมือง ก็อาจทำให้เกิดผลดีกับธุรกิจได้เช่นกัน โปรดพิจารณายอดนักลงทุนที่ต่างประเทศ ที่เสนอโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่างปี 2552 ที่ผ่านมากับปีนี้ มีแนวโน้มว่าจะมียอดขอส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่เราพูดกันทุกวันว่าเรามีความเสี่ยงทางการเมืองมากขึ้น อาจถึงขั้นมีวิกฤติ ชาติอาจล่มสลายได้ แต่น่าสงสัยว่า นักลงทุนต่างชาติเขาคิดเหมือนเราหรือไม่

ประการที่สาม มีหลายเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติมองเรื่องความเสี่ยงทางการเมืองไม่เหมือนคนในชาติ ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า ในขณะที่เรากำลังร้องแรกแหกกระเชอว่าประเทศมีความเสี่ยงทางการเมืองนั้น นักลงทุนอาจมีมุมมองที่ต่างไปดังนี้ อาทิเช่น เขามองว่าย่อม มีโอกาสลงทุนมากขึ้นโดยต้นทุนที่ต่ำลง เพราะมีโอกาสที่จะกดดันให้ประเทศที่เขาต้องการไปลงทุนต้องเปิดโอกาสให้กับเขามากขึ้น เพื่อแลกกับการจูงใจที่จะมาลงทุนหรือลงทุนต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงทางการเมืองแล้วเขาได้รับประโยชน์มากกว่า เขามองว่าเรื่องแนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองของรัฐบาลไม่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเลย เขามองว่าพฤติกรรมของรัฐบาลต่างหาก ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง รัฐบาลทุนนิยมจึงอาจสร้างความเสี่ยงได้มากกว่ารัฐบาลสังคมนิยม ถ้าเกิดเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยเฉียบพลัน ในขณะที่รัฐบาลสังคมนิยมยังคงเสมอต้นเสมอปลายในทางนโยบาย

แล้วรัฐบาลแบบใดที่ถือว่าสร้างความเสี่ยงได้มากกว่ากัน เขามองว่ารูปแบบของรัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยง รัฐบาลเผด็จการกับรัฐบาลประชาธิปไตยมีความเสี่ยงที่ไม่ต่างกัน เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองของรัฐบาล แต่เป็นเรื่องพฤติกรรมของรัฐบาลมากกว่า ฉะนั้นรัฐบาลประชาธิปไตยเหมือนกันก็มีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับรัฐบาลเผด็จการเหมือนกันก็มีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เขามองว่าแม้ว่า รัฐบาลที่มั่นคง (Stable Government) ซึ่งน่าจะมีความเสี่ยงทางการเมืองน้อยกว่ารัฐบาลที่ไม่มั่นคง แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป รัฐบาลผสมของหลายประเทศที่ถือว่าไม่ค่อยมั่นคง แต่สามารถอยู่บริหารบ้านเมืองได้ยาวนานกว่ารัฐบาลที่มาจากพรรคเสียงข้างมากพรรคเดียว

นอกจากนั้น รัฐบาลที่มีปัญหาต้องล้มลุกคลุกคลานเปลี่ยนผู้นำ เปลี่ยนคณะรัฐมนตรีปีละสองสามครั้งก็ไม่เสมอไปที่จะมีผลร้ายต่อเศรษฐกิจของประเทศ ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศสในทศวรรษที่ 1950 และประเทศอิตาลี ในทศวรรษที่ 1980 ทั้งสองประเทศเปลี่ยนรัฐบาลเป็นว่าเล่น แต่แนวนโยบายทางด้านเศรษฐกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ความเสี่ยงทางการเมืองของฝรั่งเศสและอิตาลี จึงถือว่าต่ำมาก ขณะเดียวกัน ในบางประเทศเช่นอินเดียในปลายทศวรรษที่ 1940 มีรัฐบาลมาจากพรรคคองเกรสที่มั่นคงมากจนถึงประมาณทศวรรษที่ 1980 แต่นโยบายทางเศรษฐกิจมีเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก ถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทางการเมืองกับธุรกิจอย่างมากทีเดียว และเขามองว่า ความเสี่ยงทางการเมืองไม่ใช่เป็นความเสี่ยงในทุกบริบท อาจเป็นความเสี่ยงขนาดใหญ่ทั้งประเทศ หรือเป็นความเสี่ยงเฉพาะบางบริษัทในธุรกิจบางอย่าง หรือแม้กระทั่งอาจเป็นความเสี่ยงเฉพาะบางโครงการของบริษัท เรื่องนี้จึงต้องระมัดระวังว่า เมื่อนักลงทุนต่างชาติอ้างความเสี่ยงจากการลงทุนในประเทศไทยนั้น เขามิได้หมายถึงทั้งประเทศ แต่เฉพาะการลงทุนในบางธุรกิจ และบางโครงการเท่านั้นเช่นที่มาบตาพุด นี่คือ เหตุผลว่าทำไมเขายังต้องการมาลงทุนที่ประเทศไทยอยู่ การพิจารณาเรื่องความเสี่ยงทางการเมือง จึงอาจต้องพิจารณาแยกแยะทั้งในระดับจุลภาค (Micro) และระดับมหภาค (Macro) ฉะนั้นเมื่อพูดถึงความเสี่ยงของธุรกิจหนึ่ง ก็ต้องถามต่อไปว่าเป็นแค่ความเสี่ยงในระดับจุลภาคเฉพาะบางบริษัทเท่านั้น หรือเป็นระดับมหภาคที่ทุกบริษัทได้รับผลกระทบ

ถ้าถามว่าความไม่สงบในบ้านเมือง (Political Strife) กับความเสี่ยงทางการเมืองไปด้วยกันหรือไม่ จะพบว่าในบ้านเราปัจจุบันถือว่ามีความไม่สงบในบ้านเมืองในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเรื่องกลุ่มคนที่มีเจตนารมณ์ที่ไม่ลงรอยกัน เรื่องปัญหาความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ การแบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เหล่านี้สามารถเป็นเหตุให้เกิดสภาวะเสี่ยงในทางการเมืองได้เช่นกัน แต่ ความเสี่ยงที่ว่านี้ไม่ใช่ผลโดยตรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หากแต่เป็นผลทำให้นโยบายของรัฐบาลต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลก็จะเปลี่ยนไป และทำให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ

ความไม่สงบในบ้านเมืองมักจะเกิดขึ้นจากการผิดหวังในสิ่งที่คาดหวังว่าควรจะได้แต่ก็ไม่ได้ และยิ่งการไม่ได้รับสิ่งคาดหวังมีความเข้มข้นขึ้น และแพร่กระจายมากเท่าใดในหมู่ประชาชนของประเทศ ก็ยิ่งทำให้ความไม่สงบในบ้านเมืองเกิดขึ้นได้มากเท่านั้น ซึ่งนักวิชาการทางด้านความเสี่ยงทางการเมืองจะต้องพิจารณาโดยอาศัยเครื่องมือหลายอย่าง เพื่อวัดระดับของความไม่ได้รับสิ่งที่คาดหวัง ระดับของการถูกข่มขู่ ระดับของทางออกในการแสดงออก สิ่งที่จะช่วยระบายความผิดหวัง และความชอบธรรมของคณะบริหารราชการของประเทศนั้นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแปรที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกันว่าระดับของความไม่สงบในบ้านเมืองนั้น ณ ขณะนี้ อยู่ในระดับใดแล้ว ซึ่งอาจเทียบกับประเทศอื่นที่มีการพัฒนาระดับความไม่สงบในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น

(ท่านสามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่ www.nacc.go.th/application/constitution )

ที่มา http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2010q1/2010february25p3.htm

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 16
Join date : 25/02/2010

http://roomredfight.forummotions.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ